หัวข้อ   “ วัดความเครียดคนไทย หลังรัฐบาลคืนความสุขให้ประชาชน
ประชาชน เครียดมากที่สุดเรื่อง ข้าวของแพง ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ยาเสพติด
วอนรีบแก้ปัญหาปากท้องประชาชน ก่อนทุจริตคอร์รัปชั่น และปรองดอง
68.6% ชี้ตั้งแต่คืนความสุขให้ประชาชน สุขภาพจิตดีขึ้นกว่าช่วงที่ผ่านมา
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 เนื่องในวันที่ 10 ตุลาคมที่จะถึงนี้เป็น “วันสุขภาพจิตโลก” ศูนย์วิจัย
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้สำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง
“วัดความเครียดคนไทย หลังรัฐบาลคืนความสุขให้ประชาชน” โดยเก็บข้อมูลกับ
ประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,194 คน
พบว่า ประชาชนร้อยละ
66.5 เครียดมากที่สุดเรื่องข้าวของราคาแพง ค่าครองชีพสูง
รองลงมาคือ เรื่อง
ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ (ร้อยละ 37.3) เรื่องปัญหายาเสพติด (ร้อยละ 36.7) และเรื่อง
ความแตกแยกในสังคม/ขัดแย้งทางการเมือง (ร้อยละ 33.9)
 
                  สำหรับเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตัวผู้ตอบที่ทำให้เครียด และวิตกกังวล
มากที่สุดในตอนนี้คือ เรื่องข้าวของราคาแพง รายได้ไม่พอกับรายจ่าย (ร้อยละ
47.0)
รองลงมาคือ เรื่องการเป็นหนี้ เช่น ผ่อนบ้าน /รถ (ร้อยละ 14.9) และเรื่อง
ปัญหาจากการทำงาน/ เรียน (ร้อยละ 8.7)
 
                  ส่วนเรื่องที่อยากให้รัฐบาลแก้ปัญหามากที่สุด เพื่อทำให้คนในชาติ
มีความสุขมากขึ้นคือ เรื่องค่าครองชีพสูง ข้าวของราคาแพง (ร้อยละ 34.7)

รองลงมาคือ เรื่องราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ/กระตุ้นเศรษฐกิจ (ร้อยละ 18.2) เรื่อง
การทุจริตคอร์รัปชั่น (ร้อยละ 15.0) เรื่องยาเสพติด/อาชญากรรม (ร้อยละ 10.5) และ
เรื่องความขัดแย้งทางการเมืองทำให้สังคมแตกแยก (ร้อยละ 9.9)
 
                 ด้านความพอใจในการแก้ปัญหาค่าครองชีพสูงและราคาสินค้าแพง ของรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์
จันทร์โอชา พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 57.3 พอใจมากถึงมากที่สุด
ขณะที่ร้อยละ 36.3 พอใจน้อยถึงน้อยที่สุด
 
                  นอกจากนี้เมื่อถามว่าปัจจุบันนี้ข่าวการเมือง ความแตกแยกทางการเมือง ทำให้เครียดเพียงใด
เมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ร้อยละ 55.5 บอกว่าเครียดน้อยลงเพราะบ้านเมืองสงบลง ความแตกแยก
ลดลง
ขณะที่ร้อยละ 13.5 บอกว่าเครียดเหมือนเดิม และร้อยละ 31.0 บอกว่าไม่เคยเครียดเรื่องการเมือง
 
                 ทั้งนี้เมื่อถามต่อว่าสภาพการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และปัญหาที่เกี่ยวข้องกับตัวผู้ตอบในปัจจุบัน
ทำให้เครียดมากน้อยเพียงใด ร้อยละ 80.4 บอกว่าเครียดน้อยถึงน้อยที่สุด
ขณะที่ร้อยละ 18.0 บอกว่าเครียดมาก
ถึงมากที่สุด
 
                  สุดท้ายเมื่อถามว่า “ในภาพรวมตั้งแต่พล.อ. ประยุทธ์ คืนความสุขให้ประชาชน สุขภาพจิตของท่าน
เป็นอย่างไร เมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมา” ส่วนใหญ่ร้อยละ 68.6 บอกว่าดีขึ้นกว่าที่ผ่านมา
ขณะที่ร้อยละ 25.9 บอกว่า
เหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง มีเพียงร้อยละ 4.8 ที่บอกว่าแย่ลงกว่าที่ผ่านมา
 
 
                 โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
 
             1. เรื่องที่เกี่ยวกับการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม เรื่องใดที่ทำให้เครียดในปัจจุบัน
                 (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
เรื่องข้าวของราคาแพง ค่าครองชีพสูง
66.5
เรื่องราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ
37.3
เรื่องปัญหายาเสพติด
36.7
เรื่องความแตกแยกในสังคม/ขัดแย้งทางการเมือง
33.9
เรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน/อาชญากรรม
28.9
เรื่องการจราจรติดขัด
21.9
เรื่องการบริหารประเทศของรัฐบาล นโยบายของรัฐบาล
11.8
 
 
             2. เรื่องเกี่ยวข้องกับตัวผู้ตอบที่ทำให้เครียด และวิตกกังวล มากที่สุดในปัจจุบัน

 
ร้อยละ
เรื่องข้าวของราคาแพง รายได้ไม่พอกับรายจ่าย
47.0
เรื่องการเป็นหนี้ เช่น ผ่อนบ้าน /รถ
14.9
เรื่องปัญหาจากการทำงาน/ เรียน
8.7
เรื่องการเจ็บป่วย
7.3
เรื่องปัญหาในครอบครัว คนรัก
4.1
ไม่มีเรื่องเครียด
18.0
 
 
             3. เรื่องที่อยากให้รัฐบาลแก้ปัญหามากที่สุด เพื่อทำให้คนในชาติมีความสุขมากขึ้น

 
ร้อยละ
ค่าครองชีพสูง ข้าวของราคาแพง
34.7
ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ/กระตุ้นเศรษฐกิจ
18.2
การทุจริตคอร์รัปชั่น
15.0
ยาเสพติด/อาชญากรรม
10.5
ความขัดแย้งทางการเมืองทำให้สังคมแตกแยก
9.9
ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้
9.6
การจราจรติดขัด
2.1
 
 
             4. ความพอใจในการแก้ปัญหาค่าครองชีพสูง และราคาสินค้าแพง ของรัฐบาล
                 พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา


 
ร้อยละ
พอใจมากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็นพอใจมากร้อยละ 47.8 และพอใจมากที่สุดร้อยละ 9.5)
57.3
พอใจน้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็นพอใจน้อยร้อยละ 28.6 และพอใจน้อยที่สุดร้อยละ 7.7)
36.3
ไม่แน่ใจ
6.4
 
 
             5. ปัจจุบันนี้ข่าวการเมือง ความแตกแยกทางการเมือง ทำให้เครียดเพียงใด เมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมา

 
ร้อยละ
เครียดน้อยลงเพราะบ้านเมืองสงบลง ความแตกแยกลดลง
55.5
เครียดเหมือนเดิม
13.5
ไม่เคยเครียดเรื่องการเมือง
31.0
 
 
             6. สภาพการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และปัญหาที่เกี่ยวข้องกับตัวท่านในปัจจุบัน
                 ทำให้เครียดมากน้อยเพียงใด


 
ร้อยละ
เครียดมากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็นเครียดมากร้อยละ 16.1 และเครียดมากที่สุดร้อยละ 1.9)
18.0
เครียดน้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็นเครียดน้อยร้อยละ 47.9 และเครียดน้อยที่สุดร้อยละ 32.5)
80.4
ไม่แน่ใจ
1.6
 
 
             7. ความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “ในภาพรวมตั้งแต่พล.อ. ประยุทธ์ คืนความสุขให้ประชาชน
                 สุขภาพจิตของท่านเป็นอย่างไร เมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมา”

 
ร้อยละ
ดีขึ้นกว่าที่ผ่านมา
68.6
เหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
25.9
แย่ลงกว่าที่ผ่านมา
4.8
ไม่แน่ใจ
0.7
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  - เพื่อสะท้อนเรื่องที่ทำให้ประชาชนเครียดมากที่สุดในปัจจุบัน
                  - เพื่อสะท้อนเรื่องที่อยากให้รัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ แก้ปัญหามากที่สุด
                  - เพื่อสะท้อนความพอใจต่อรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ในการแก้ปัญหาค่าครองชีพสูงและราคาสินค้าแพง
                  - เพื่อสะท้อนสุขภาพจิตโดยรวมของประชาชน
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์
ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Simple Random Sampling แล้วใช้วิธีการ
ถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน
ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้อง
สมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 7 – 8 ตุลาคม 2557
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 9 ตุลาคม 2557
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
619
51.8
             หญิง
575
48.2
รวม
1,194
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
183
15.3
             31 – 40 ปี
277
23.2
             41 – 50 ปี
348
29.1
             51 – 60 ปี
260
21.8
             61 ปีขึ้นไป
126
10.6
รวม
1,194
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
745
62.4
             ปริญญาตรี
353
29.6
             สูงกว่าปริญญาตรี
96
8.0
รวม
1,194
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
184
15.4
             ลูกจ้างเอกชน
307
25.7
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว
240
20.1
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
121
10.1
             ทำงานให้ครอบครัว
5
0.4
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
148
12.4
             นักเรียน/ นักศึกษา
33
2.8
             ว่างงาน/ รอฤดูกาล/ รวมกลุ่ม
20
1.7
             เกษตรกร/ ชาวประมง
136
11.4
รวม
1,194
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776